เทคนิคการสืบค้นข้อมูล

1. เลือก Search Engine ที่เหมาะสม
2. เลือกเว็บไซต์ที่อยู่ใกล้และอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
3. การเลือกใช้คําสําคัญ (Keyword) หรือหัวเรื่อง (Subject) ที่ตรงกับเรื่องที่ต้องการ
4. กําหนดขอบเขตของคำค้น โดยใช้ตัวเชื่อมบูลีน (Boolean Operators) เช่น AND
OR NOT NEAR BEFORE เป็นต้น หรือการค้นวลี (Phrase Searching) การตัดคํา หรือการใช้คําเหมือน ดังต่อไปนี้
1. การค้นหาแบบพื้นฐาน (Basic Search) เป็นการค้นหาสารสนเทศอย่างง่ายๆ ไม่ซับ
ซ้อน โดยใช้คำโดดๆ หรือผสมเพียง 1 คำ ในการสืบค้นข้อมูล โดยส่วนใหญ่การค้นหาแบบง่ายจะมีทางเลือกในการค้นหา ได้แก่
1.1 ชื่อผู้แต่ง (Author) เป็นการค้นหาโดยใช้ชื่อของบุคคล กลุ่มบุคคล นามปากกา หรือชื่อหน่วยงาน/องค์กร ที่เป็นผู้แต่งหรือเขียนหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ ซึ่งมีหลักการค้นหาง่ายๆ ดังนี้
1.1.1 ผู้แต่งคนไทย เป็นการค้นหาชื่อบุคคล ตัวอย่างเช่น กุลธิดา ท้วมสุข ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก เช่น นาย นาง นางสาว หรือหากเป็นบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์ ให้ค้นด้วยชื่อ และต่อท้ายด้วยบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ หากเป็นการค้นหาชื่อที่เป็น นามปากกา ฉายาหรือสมณศักดิ์ ให้ค้นหาตามนามปากกา ฉายา หรือสมณศักดิ์ ยกตัวอย่างเช่น
- นางกุลธิดา ท้วมสุข ชื่อที่ใช้ค้นคือ กุลธิดา ท้วมสุข (ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก)
- ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมท ชื่อที่ใช้ค้นคือ คึกฤทธิ์ ปราโมท, ม.ร.ว. (ให้เอาบรรดาศักดิ์มาต่อท้ายชื่อ)
- ร.ต.อ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ชื่อที่ใช้ค้นคือ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (ให้ตัดตำแหน่งออก)
- พระยาอุปกิตติศิลปสาร ชื่อที่ใช้ค้นคือ พระยาอุปกิตติศิลปสาร
- ว.วชิรเมธี ชื่อที่ใช้ค้นคือ ว.วชิรเมธี
- พระครูวิมลคุณากร ชื่อที่ใช้ค้นคือ พระครูวิมลคุณากร
1.1.2 ผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ ให้ค้นหาโดยใช้ ชื่อสกุล ตามด้วยชื่อกลางและชื่อต้น ยกตัวอย่างเช่น "Judith G. Voet" ชื่อที่ใช้ค้น คือ Voet, Judith G. หรือ Voet, Judith หรือ Voet
1.1.3 ผู้แต่งที่เป็นหน่วยงาน/องค์กร ให้ค้นหาตามชื่อหน่วยงานหรือชื่อองค์กรนั้น เช่น การค้นหาชื่อหน่วยงานที่มีทั้งหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานย่อย ให้ค้นหาโดยใช้ชื่อหน่วยงานใหญ่ก่อน แล้วตามด้วยชื่อหน่วยงานย่อย หากเป็นชื่อย่อ เมื่อค้นหาให้ใช้ชื่อเต็ม ยกตัวอย่างเช่น
-สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชื่อที่ใช้ค้นคือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สำนักวิทยบริการ
- ททท. ชื่อที่ใช้ค้นคือ การท่องเที่ยวแห่ประเทศไทย
1.2 ชื่อเรื่อง (Title) เป็นการค้นหาข้อมูล ด้วยชื่อเรื่อง เช่น ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ ชื่อเรื่องสั้น นวนิยาย ชื่องานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ การค้นโดยใช้ชื่อเรื่องนี้ เป็นการค้นหาแบบเจาะจง ดังนั้นผู้ค้น ต้องรู้จักชื่อเรื่อง หลักการค้นหาด้วยชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ใช้หลักการเดียวกัน คือ ค้นหาตามชื่อนั้นๆ ได้เลย โดยระบบจะทำการค้นหาจากชื่อเรื่อง เริ่มจากอักษรตัวแรกและตัวถัดไปตามลำดับ ยกตัวอย่างเช่น
- เพลงรักในสายลมหนาว (ชอบดูมาก..ชึ้ง..แถมพระเอกหล๊อ..หล่อ)
- อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้เริ่มต้น (เรื่องนี้ก็ชื่นชอบผู้แต่ง อ.ยืน ภู่วรวรรณ)
- Engineering Analysis (เรื่องนี้ไม่อ่าน เพราะเดี๋ยวเจ็บหัว)
1.3 หัวเรื่อง (Subject Heading) คือ คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ
1.4 คำสำคัญ (Keywords) คือ การค้นหาด้วยคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเรื่องที่ต้องการค้นหา โดยทั่วไปคำสำคัญจะมีลักษณะที่สั้น กระทัดรัด ได้ใจความมีความหมาย เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชา
2. การค้นหาแบบขั้นสูง (Advanced Search) เป็นการค้นหาที่ซับซ้อนมากกว่าแบบพื้นฐาน ซึ่งมีเทคนิคหรือรูปแบบการค้นที่จะช่วยให้ผู้ค้นสามารถจำกัดขอบเขตการค้นหาหรือค้นแบบเจาะจงได้มากขึ้น เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
2.1 การสืบค้นข้อมูล โดยใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือการค้นหาโดยใช้ Operator เป็นการค้นหา โดยใช้คำเชื่อม 3 ตัว คือ AND, OR, NOT ดังนี้
- AND หรือ เครื่องหมาย + ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตการค้นหาให้แคบลง เช่น ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ ที่เป็นอาหาร มีรูปแบบการค้นดังนี้ คือ ส้มตำ AND อาหาร หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ และคำว่า อาหาร
- OR ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น เช่น ส้มตำไทย OR ส้มตำปูปลาร้า (โอย..น้ำยาย..ไหยยยย..แซ๊บ..แซบ..เด้อ) หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำไทย และ ส้มตำปูปลาร้า หรือค้นหาคำใดคำหนึ่งก็ได้
- NOT หรือ เครื่องหมาย – ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตให้แคบลง เช่น ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ AND อาหาร NOT เพลง หมายถึง ต้องการค้นหา คำว่า ส้มตำ ที่เป็นอาหาร ไม่เอาส้มตำที่เป็นเพลง เป็นต้น
- NEAR ใช้เมื่อต้องการให้คําที่กําหนดอยู่ห่างจากกันไม่เกิน 10 คํา ในประโยคเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน (อยู่ด้านหน้าหรือหลังก็ ได้) เช่น Research NEAR Thailand ข้อมูลที่ได้จะมีคำว่า Research และ Thailand ที่ห่างกันไม่เกิน 10 คํา ตัวอย่างเช่น Research on he Cost of Transportation in Thailand
- BEFORE ใช้เมื่อต้องการกําหนดให้คําแรกปรากฏอยู่ข้างหน้าคําหลังในระยะห่างไม่เกิน 8 คํา เช่น Research BEFORE Thailand
- AFTER ใช้เมื่อต้องการกําหนดให้คําแรกปรากฏอยู่ข้างหลังคําหลังในระยะห่างไม่เกิน 8 คํา เช่น Research AFTER Thailand
- ( parentheses ) ใช้เมื่อต้องการกําหนดให้ทําตามคำสั่งภายในวงเล็บก่อนคําสั่งภายนอก เช่น (Research OR Quantitative) and Thailand
2.2 การค้นวลี (Phrase searching) เป็นการใช้เครื่องหมายอัญประกาศ (“ ”) เมื่อต้องการกําหนดให้ค้นเฉพาะหน้าเอกสารที่มีการเรียงลําดับคําตามที่กําหนดเท่านั้น เช่น “Methodology Research”
2.3 การตัดคํา (Word stemming / Truncation) เป็นการใช้เครื่องหมาย asterisk (*) ตามท้ายคํา 3 คําขึ้นไป เพื่อค้นหาคําที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรที่กําหนด เช่น Research*
2.4 คําพ้องความหมาย (Synonym) เป็นการใช้คําเหมือนที่ มีความหมายเดียวกันหรือใกล้เคียงกันเพื่อช่วยให้ค้นเรื่องที่ครอบคลุม เช่น Ocean Sea Marine
2.5 เขตข้อมูลเพื่อการค้น (Field Searching) เป็นการกําหนดเขตข้อมูลเพื่อการค้น เช่น ชนิดของข้อมูล หรือที่อยู่ของข้อมูล เป็นต้น เช่น text: “green tea” url: NASA
2.6 ตัวเล็กตัวใหญ่ถือว่าต่างกัน (Case sensitive) เป็นการใช้ตัวอักษรใหญ่กับตัวเล็กในความหมายที่แตกต่างกัน เช่น ใช้ตัวอักษรใหญ่ขึ้นต้นชื่อเฉพาะ เช่น George W. Bush
2.7 ภาษาธรรมชาติ (Natural Language) เป็นการสืบค้นจากคําถามที่เป็นภาษาธรรมชาติ เช่น ใช้ คําถามภาษาอังกฤษง่ายๆ ที่ต้องการให้ Search Engine หาคําตอบให้ เช่น What is Research?